สมทรัพย์ ศรีสุวรรณ์

ครูศิลป์ของแผ่นดิน 2563

"น้ำต้น เป็นสัญลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชาวล้านนาที่มีมาแต่โบราณ

สืบทอดต่อกันมาผ่านรูปแบบงานปั้นด้วยฝีมือของพ่ออุ๊ย

แม่อุ๊ยที่รักษามรดกภูมิปัญญาที่มีค่าแซนงนี้ให้ยังคงอยู่ในปัจจุบัน

ตราบเท่าที่ผมยังมีลมหายใจอยู่ในแผ่นดิน ผมจะสืบสานงานน้ำต้น

ต่อไปจะไม่ยอมให้น้ำต้นสูญสิ้นไปจากแผ่นดินไทย"










น้ำตัน หรือ คนโท เป็นภาชนะดินเผาที่มีลักษณะรูปทรงสูง ส่วนกลางป่อง โดยทั่วไปจะมีสีแดงอิฐ

หรือสีของเนื้อดินตามธรรมชาติ น้ำตันเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของชาวล้านนามาช้านาน

สันนิษฐานว่าสืบทอดมาจากงานฝีมือของช่างชาวงี้ยว หรือ ชาวไทยใหญ่ ที่อพยพมาจากรัฐฉาน

ประเทศพม่า เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เชียงใหม่ตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ผู้ครองเมือง

นครเซียงใหม่ ลำดับที่ 6 (ในราวปี พ.ศ. 2399-2413) ในอดีตใช้เป็นเครื่องประกอบยศของ

ผู้มีบรรดาศักดิ์ วัตถุดิบและลวดลายจะมีความวิจิตรงดงามแตกต่างจากน้ำต้นที่ชาวบ้านใช้ใน

ชีวิตประจำวัน โดยส่วนใหญ่นิยมนำมาบรรจุน้ำดื่มหรือเป็นภาชนะใส่ดอกไม้เพื่อบูชาในพิธีกรรม

ต่าง ๆ เช่น ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ตั้งไว้บนหอผีหอเจ้าทรงใส่น้ำเพื่อบวงสรวงเซ่นไหว้ผี

เป็นต้น


น้ำตันมีลักษณะบางเบาแต่ทนทาน เมื่อจับรินน้ำแล้วบริเวณช่วงคอน้ำต้นไม่แตกหักง่าย

ใส่น้ำแล้วจะมีความเย็น ดื่มแล้วสดชื่นจึงเหมาะแก่การต้อนรับแขกผู้มาเยือน ในอดีตชาวบ้านไม่นิยมใช้น้ำต้นอย่าง พร่ำเพรื่อ เพราะมีความเชื่อว่น้ำต้นเป็นของสูงค่ หากไม่ใช้งนแล้วมักจะเก็บไว้โดยการคว่ำไว้บนค่วน

(ที่เก็บของมีลักษณะเป็นตะแกรงตาห่าง) เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี หลายหลังคาเรือนยังคงรักษาน้ำต้น แบบโบราณไว้เพื่อส่งต่อให้กับรุ่นลูกรุ่นหลาน ซึ่งถือเป็นการช่วยกันอนุรักษ์ให้ภูมิปัญญาการทำน้ำต้น

ยังคงอยู่ได้ต่อไปในอนาคต


การอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา

นายสมทรัพย์ ศรีสุวรรณ์ ผู้อนุรักษ์และสืบสานงาน ภูมิปัญญาการปั้นน้ำต้นของชาวล้านนาที่เกือบจะสูญหาย

ไปจากแผ่นดินให้กลับมาคงอยู่ได้ในปัจจุบัน โดยมี จุดเริ่มตันจากความสนใจในศิสปะการทำน้ำต้นมาตั้งแต่เด็ก

และด้วยความเป็นคนท้องถิ่นบ้านน้ำต้น หมู่บ้านที่ขึ้นชื่อในการทำ "น้ำต้น" ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของ

จังหวัดเชียงใหม่จึงได้เห็นการปั้นน้ำต้นจากรุ่นพ่ออุ๊ย แม่อุ๊ยในชุมชนมาตั้งแต่จำความได้ ทำให้เกิดการซึมซับ

และเริ่มเรียนรู้ได้มีโอกาสทดลองฝึกปั้น "น้ำต้น" จากการสังเกตและจดจำเทคนิควิธีการทำจากพ่ออุ๊ย แม่อุ๊ย

ช่างปั้นน้ำตันประจำชุมชน นายสมทรัพย์ สั่งสมฝีมืออยู่นานหลายปีจนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ ทั้งด้านทักษะฝืมือ

และองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับน้ำต้นตั้งแต่สมัยโบราณ ทำให้ได้รับการยกย่องให้เป็น "สล่าหรือช่างปั้นน้ำต้น"

ที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน


นายสมทรัพย์ ได้มีโอกาสเห็นรูปแบบน้ำต้นโบราณในแต่ละยุคสมัย จึงยิ่งเกิดเป็นความรักและความหวงแหน

ซึ่งภูมิปัญญาของงานน้ำต้น เพราะในปัจจุบันช่างปั้นน้ำตันมีเหลืออยู่เพียงไม่กี่คน และนับวันจะหายไปจาก

วิถีชีวิตของชาวล้านนา จึงตั้งใจรวบรวมทั้งด้านองค์ความรู้และเทคนิควิธีการ เพื่อฟื้นฟูภูมิปัญญา

การปั้นน้ำตันขึ้นมาอีกครั้ง เพียงหวังว่า "การปั้นน้ำต้นแบบโบราณ" จะคงอยู่คู่บ้านน้ำต้น

และชาวล้านนาสืบต่อไป